เอ็กทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อมักจะปิดกั้นเฉพาะภายใน แต่อาจมีการเปิดให้ผู้ใช้งานภายนอกเข้ามาใช้งานหรือแบ่งระดับการเข้าใช้ข้อมูลได้เช่นกัน
ตัวอย่างของเอ็กซ์ทราเน็ต Countrywide Home Loans ได้สร้างเอ็กซ์ทราเน็ต ที่เรียกว่า Platinum Lender Access สำหรับหุ้นส่วนกู้ยืม นายหน้า และธนาคารประมาณ 500 แห่ง ให้สามารถเข้าถึงอินทราเน็ตและฐานข้อมูลการเงิน เข้าถึงบัญชีและสารสนเทศรายการเปลี่ยนแปลง สถานะเงินกู้ และประกาศของบริษัท ผู้ให้กู้และนายหน้าแต่ละรายถูกระบุตัวอัตโนมัติโดยเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมสารสนเทศในเรื่องของอัตราเบี้ยประกัน ส่วนลด และข้อตกลงพิเศษอื่นๆ Marshall Industries ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อให้ลูกค้าและผู้ขายสามารถเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตของ Marshall ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Partner Net เช่น ผู้ขายสามารถใช้ระบบจุดขาย (Point–of-sale) เพื่อรายงานสถานะของสินค้าคงคลังได้ทุกเวลา ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ต้องการ เช่นเดียวกับสถานะคำสั่งซื้อที่ได้สั่งซื้อไว้ก่อนหน้า ซึ่งเอ็กซ์ทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มยอดขายและกำไร ขณะที่ตัดพนักงานขายและค่าใช้จ่ายลง
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อินทราเน็ต (Intranet) คืออะไร
อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต
อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต
ธุรกิจกับรัฐบาล B2G
B2G ก็คือการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกให้ รัฐบาลสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับภาคประชาชน หรือ G2C ได้อย่างคล่องตัว .....เช่นรัฐบาลคิดโปรเจคทำการตลาดด้วยการสร้างกระแสฮือฮาบ่มเพาะดีมานด์จนพุ่งกระฉูด จากนั้นก็ดึงธุรกิจเอกชนเข้ามารับงานจากรัฐบาล
แม้ว่า G2C จะเกิดขึ้นอย่างคึกคัก มีการประมูลหรือให้งานภาคเอกชนครึกครื้น แต่โดยภาพใหญ่ที่ออกมากลับผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับนโยบาย "ป็อปปูลิสต์" เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกส่งต่อถึงมือประชาชนโดยรัฐทั้งสิ้น
แต่กระบวนการ B2G ที่อยู่เบื้องหลัง ป็อปปูลิสต์ เหล่านี้ แทบไม่เคยถูกตั้งข้อสงสัยเลยว่าแต่ละ "ดีล" เจรจาอย่างไร และเหตุใดจึงจบลงที่ตัวเลขดังกล่าว
ระหว่าง G รัฐบาล และ B-Business รู้กันแค่ 2 คน
ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีประกาศที่เป็น TOR ชัดเจน ไม่มีระบบตรวจสอบ ...เพราะทุกฝ่ายต่างยอมรับว่า การเล่นบทนักธุรกิจของรัฐบาลซีอีโอได้ผล และสมประโยชน์ถ้วนหน้า
และแม้ว่าโครงการเอื้ออาทรจะห่างสายตาไปบ้าง อาจด้วยหมดมุข คิดไม่ออก แต่ B2G ที่ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนต้องสยบแทบเท้ารัฐบาลไม่ได้จบลงที่เท่านั้น
แม้ว่า G2C จะเกิดขึ้นอย่างคึกคัก มีการประมูลหรือให้งานภาคเอกชนครึกครื้น แต่โดยภาพใหญ่ที่ออกมากลับผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับนโยบาย "ป็อปปูลิสต์" เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกส่งต่อถึงมือประชาชนโดยรัฐทั้งสิ้น
แต่กระบวนการ B2G ที่อยู่เบื้องหลัง ป็อปปูลิสต์ เหล่านี้ แทบไม่เคยถูกตั้งข้อสงสัยเลยว่าแต่ละ "ดีล" เจรจาอย่างไร และเหตุใดจึงจบลงที่ตัวเลขดังกล่าว
ระหว่าง G รัฐบาล และ B-Business รู้กันแค่ 2 คน
ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีประกาศที่เป็น TOR ชัดเจน ไม่มีระบบตรวจสอบ ...เพราะทุกฝ่ายต่างยอมรับว่า การเล่นบทนักธุรกิจของรัฐบาลซีอีโอได้ผล และสมประโยชน์ถ้วนหน้า
และแม้ว่าโครงการเอื้ออาทรจะห่างสายตาไปบ้าง อาจด้วยหมดมุข คิดไม่ออก แต่ B2G ที่ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนต้องสยบแทบเท้ารัฐบาลไม่ได้จบลงที่เท่านั้น
ลูกค้ากับลูกค้า C2C
C2C นั้นก็จะหมายถึง การทำธุรกิจที่ติดต่อกับโดยตรงระหว่างลูกค้ารายย่อยที่ซื้อข่ายกันเอง จุดเด่นของธุรกิจในลักษณะนี้ก็คือ แต่ละคนจะเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตนเอง แต่ปริมาณสินค้าของตนยังน้อยอยู่ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำ E-business จึงมักจะมีตัวกันเป็นกลุ่ม หรือมีตัวแทนรวบรวมเจ้าของเจ้าของสินค้ารายย่อยเหล่านี้ไว้ด้วยกัน แล้วจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เช่น สร้างโฮมเพจให้ จัดการระบบเก็บเงิน และ ระบบส่งของให้ คล้ายๆ กับกิจกรรม เปิดท้ายขายของ ตามที่ต่างๆ นั่นเอง สำหรับตัวอย่างของระบบ C2C นี้ได้แก่ โฮมเพจของ Thai.com ที่อนุญาตให้เราเข้าไปเปิดร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ตได้ รูปแบบ E-business ที่ผ่านได้เล่าให้ฟังนั้นระบบ B2B และ B2C ดูเหมือนว่าจะเห็นผลมากกว่าระบบ C2C เนื่องจากระบบปริมาณสินค้ามาก จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำในขณะที่ได้รับผลประโยชน์สูง
ธุรกิจกับลูกค้า B2C
ธุรกิจและลูกค้า
Business to Customer ( B2C) หรือ การดำเนินธุรกิจระหว่าง ธุรกิจกับลูกค้า หรือร้านค้าต่อลูกค้า ขั้นก็ตอนจะ คล้ายกับ B2B แต่จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายรายย่อยๆ ระหว่างลูกค้ากับร้านค้า เช่น การเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ลูกค้าจะเปิดโฮมเพจเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและจ่ายเงินออนไลน์เอง ปริมาณการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะมีจำนวนน้อยกว่า B2B แต่ จำนวนลูกค้าจะมีมากกว่าและการสั่งซื้อที่บ่อยกว่าทำให้ได้ระบบ B2C รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นโฮมเพจของ ebay.com, dell.com เป็นต้น
ธุรกิจกัธุรกิจ B2B
การค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ คืออะไร?
การค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) ได้แก่ การทำ ธุรกรรมหรือพาณิชยกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะทำให้ทราบข้อมูลของธุรกิจประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสามารถซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุน และการขยายตลาดการค้าให้มีวงกว้างไปในระดับโลกมากขึ้น ตัวอย่างการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทย ได้เริ่มนำการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจมาใช้ในการประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก
ห้างสรรพสินค้าแม็คโครถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการพัฒนาการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจเป็นกลุ่มต้นๆ ในประเทศไทย ในการพัฒนาระบบการค้าขายทางอิเล็คทรอนิกส์ของแม็คโครภายใต้ชื่อ www.makro.co.th นั้น ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2543 เพื่อรองรับกับผู้ประกอบการ 1,040 รายที่ขายสินค้าให้กับแม็คโคร โดยมีการลงทุนพัฒนาระบบขั้นต้นไป 10 ล้านบาท ในส่วนของบริษัทในเครืออย่างแม็คโครออฟฟิศ เซ็นเตอร์ ที่เริ่มพัฒนาระบบการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2542 นั้น ได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะการซื้อขายแบบ B2B เช่นกันภายใต้ชื่อ www.officecenter.co.th เนื่องจากคาดว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาล
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
คำศัพท์อินเตอร์เน็ต
1. HTML(Hypertext Markup Language) เป็นเครื่องมือในการสร้าไฟล์เท็ก(ข้อความ)ที่มีการเชื่อมต่อกันสำหรับใช้กับบราวเซอร์บนwww โดยมีลักษณะเป็นช้อความธรรมดาที่ล้อมค้วยวงเล็บ< >เช่น <b>tunjai</b> เป็นคำสั่งที่บอกให้บราวเซอร์แสดงผลตัว tunjai ตัวเข้มหรือตัวหนา
2. (Web Page) เว็บเพจ
คือ เอกสารแต่ละหน้าที่เราเปิดดูใน Web Page ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่กำหนดรูปแบบและหน้าตาของเว็บเพจ โดยเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นได้ ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลไปทั้วโลกได้ทันทีในราคาถูกและรวดเร็ว
3. Home Page โฮมเพจหมายถึง เอกสารในwwwหน้าแรกของไซด์ที่คุณเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีชื่อว่า index.html หรือ default.asp
4. World Wide Web (WWW) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Web เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตให้บริการข้อมูล ที่ประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร และเสียง ถือได้ว่า World Wide Web เป็นแหล่งบริการข้อมูลขนาดใหญ่ เหมือนเครือข่ายใยแมงมุม
5. (Web Browser) เว็บเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมทีใช้ในการท่องโลก World Wide Web เพื่อดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต หรือกล่าวได้ว่าเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมใช้เปิดดูเว็บเพจนั่นเอง มีหลายโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ Microsoft Internet Explorer,Netscape Navigator
6. URLU nique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ 7. PROTOCOL มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
8. Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ
9. IP Address คือชุดตัวลขที่อ้างถึงโฮสต์ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ประกอบด้วยชุดอักษร 4 ชุด ที่ขั้นด้วย จุด ดังนั้นบางเครื่องอาจเรียกเป็น dot addressing โดยจะมีไบนารี 32 บิต(4octet)เช่น 202.214.115.12 ถ้าคุณใช้อินเตอร์เน็ตแบบ PPP คุณจะพบว่าโฮสต์ ของคุณนั้นจะกำหนด ไอพีแอดเดรส ให้คุณอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใช้ระบบ แลน ไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกกำหนดตายตัว
10. Domain Name โดเมนเนมแสดงถึงการเป็นเจ้าของหรือการจัดระบบเน็ตเวิร์คในอินเตอร์เน็ต มักจะมีรูปแบบเป็น ชื่อโดเมน.ชนิดของโดเมน เช่น microsoft.com (.com-องค์กรการค้า,.edu-องค์กรการศึกษาฯลฯ)ซึ่งลักษณะนี้เป็นการกำหนดโดเมนเนมในอเมริกา หากเป็นประเทศอื่นๆ จะมีตัวอักษรสองตัวแทนชื่อประเทศต่อท้ายเช่นksc.net.th(net-ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์ค,.th-รหัสประเทศไทย)
11. Bandwidth แบนด์วิธจะเป็นการแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีการขนย้านข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด มักจะมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาทั(bps) หรือ กิโลบิตต่อวินาที(kbps)
2. (Web Page) เว็บเพจ
คือ เอกสารแต่ละหน้าที่เราเปิดดูใน Web Page ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่กำหนดรูปแบบและหน้าตาของเว็บเพจ โดยเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นได้ ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลไปทั้วโลกได้ทันทีในราคาถูกและรวดเร็ว
3. Home Page โฮมเพจหมายถึง เอกสารในwwwหน้าแรกของไซด์ที่คุณเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีชื่อว่า index.html หรือ default.asp
4. World Wide Web (WWW) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Web เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตให้บริการข้อมูล ที่ประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร และเสียง ถือได้ว่า World Wide Web เป็นแหล่งบริการข้อมูลขนาดใหญ่ เหมือนเครือข่ายใยแมงมุม
5. (Web Browser) เว็บเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมทีใช้ในการท่องโลก World Wide Web เพื่อดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต หรือกล่าวได้ว่าเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมใช้เปิดดูเว็บเพจนั่นเอง มีหลายโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ Microsoft Internet Explorer,Netscape Navigator
6. URLU nique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ 7. PROTOCOL มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
8. Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ
9. IP Address คือชุดตัวลขที่อ้างถึงโฮสต์ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ประกอบด้วยชุดอักษร 4 ชุด ที่ขั้นด้วย จุด ดังนั้นบางเครื่องอาจเรียกเป็น dot addressing โดยจะมีไบนารี 32 บิต(4octet)เช่น 202.214.115.12 ถ้าคุณใช้อินเตอร์เน็ตแบบ PPP คุณจะพบว่าโฮสต์ ของคุณนั้นจะกำหนด ไอพีแอดเดรส ให้คุณอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใช้ระบบ แลน ไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกกำหนดตายตัว
10. Domain Name โดเมนเนมแสดงถึงการเป็นเจ้าของหรือการจัดระบบเน็ตเวิร์คในอินเตอร์เน็ต มักจะมีรูปแบบเป็น ชื่อโดเมน.ชนิดของโดเมน เช่น microsoft.com (.com-องค์กรการค้า,.edu-องค์กรการศึกษาฯลฯ)ซึ่งลักษณะนี้เป็นการกำหนดโดเมนเนมในอเมริกา หากเป็นประเทศอื่นๆ จะมีตัวอักษรสองตัวแทนชื่อประเทศต่อท้ายเช่นksc.net.th(net-ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์ค,.th-รหัสประเทศไทย)
11. Bandwidth แบนด์วิธจะเป็นการแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีการขนย้านข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด มักจะมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาทั(bps) หรือ กิโลบิตต่อวินาที(kbps)
วิวัฒนาการของ Web
Web1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น
ในยุคแรกเริ่มของเว็บไซต์ที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มีเพียงกลุ่มคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้งานเมื่อเทียบกับอัตราส่วนการใช้ งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน อาจจะมีสาเหตุมาจาก แหล่งเรียนรู้ที่ยังไม่เปิดกว้าง อุปกรณ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็มยังมีราคา แพง ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตยังมีจำนวนน้อยและค่าใช้จ่ายในการใช้งานมีราคาสูง รวมไปถึงความเร็วในการเชื่อมต่อและความเร็วในการใช้งานยังมีจำกัด ทำให้เวบไซต์ในยุคนั้นมีลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนใหญ่“Read-Only” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เวบไซต์กับผู้เข้าชมเวบไซต์ในยุค Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบโต้ทางเดียวคือ เจ้าของเวบไซต์มีการผลิตเนื้อหาของเว็บไซต์ และผู้ที่ต้องการข้อมูลจะเข้าไปอ่านจากเวบไซต์หรือทำการค้นหาจาก Search Engine ซึ่งเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆเป็นส่วนใหญ่ ผู้เข้าชมเวบไซต์ส่วนใหญ่สามารถทำได้เพียงรับข้อมูลจากเนื้อหาของเวบไซต์แต่ ไม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นหรือมีการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของเวบไซต์กับ ผู้เข้าชมเวบไซต์ ถึงแม้ว่าในการพัฒนาต่อมาจะมีการนำกระดานข่าว (webboard) มาใช้เป็นแหล่งที่ให้ผู้เข้าชมเวบไซต์สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกันได้ แต่กระดานข่าวยังไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการเข้า ชมจากผู้ชมเวบไซต์คนอื่น รวมไปถึงไม่มีการสนับสนุนหรือตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลสำหรับผู้เข้าชมเวบไซ ต์ ซึ่งข้อจำกัดต่างๆส่งผลให้มีการพัฒนาเวบไซต์เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้เข้า ชมมากยิ่งขึ้นอันเป็นที่มาของยุค Web 2.0
ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 1.0 เช่น การสร้างเวบไซต์บน GeoCities ซึ่งเป็นผู้ให้บริการฟรีโฮสติ้ง ซึ่งผู้เขียนต้องมีความรู้พื้นฐานในการทำเวบไซต์ และยากที่จะแบ่งปันเนื้อหาออกไป
Web2.0 ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง
“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)” คำกล่าวของอริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นการอธิบายถึงการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อความอยู่รอดและเพื่อสร้างความสุข ความมั่นคงให้กับชีวิต สังคมจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ทางความคิดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อแสวงหาคำตอบทุกๆอย่างให้กับตนเอง ซึ่งเหตุผลแห่งการที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อีกทั้งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความสุขและสะดวกสบายใจชีวิต จึงทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาและค้นหาหนทางต่างๆเพื่อตอบสนอง ความต้องการของตน ในโลกของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ และการออกแบบเว็บไซต์ก็เช่นกัน การที่เวบไซต์แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการแสดงความคิดเห็น การโต้ตอบ หรือการเชื่องโยงและการสร้างเครือข่ายสังคม จึงทำให้มีการพัฒนาและปฏิวัติรูปแบบของเวบไซต์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความต้องการมากขึ้นในยุคของ Web 2.0 ที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเล่นอินเตอร์เนตมีราคาถูกลง มีการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เนตเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนทวีคูณเมื่อเทียบกับ ยุคแรกๆ ที่อินเตอร์เนตยังไม่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากนัก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในการใช้งานส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีต้องมีการพัฒนาเวบไซต์เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและรอบรับการใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 2.0 เช่น Wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรีที่ให้ผู้ ใช้สามารถสร้าง แก้ไข และปรับปรุงเนื้อหาร่วมกันได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัด, flickr แหล่งออนไลน์ในการ “ฝากและแสดง” ภาพถ่ายดิจิตอล โดยมีการให้ใส่คำจำกัดความของรูปภาพหรือที่เรียกว่า “Tag” เพื่อเป็นตัวช่วยในการจัดระบบและการค้นหาข้อมูล, Blog เวบไซต์ส่วนตัวสำเร็จรูปที่ช่วยให้การเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ทำได้ อย่างง่ายดาย
Web3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต
แนวโน้มในส่วนของ Web 3.0 ที่มีการกล่างถึงกันมากขึ้นในวงการไอทีนั้นยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมาก นัก เนื่องจากยังไม่มีการนิยามและตัวอย่างของเวบไซต์ออกมาให้เห็นกันอย่างชัดเจน เป็นเพียงแนวโน้มของการพัฒนาที่กลุ่มคนบางกลุ่มที่ต้องการพัฒนาเวบไซต์ใน อนาคตให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น
แนวคิดของ Web 3.0 นั้นเป็นเหมือนกันนำ Web 2.0 มาทำการพัฒนาและต่อยอด โดยมีการปรับปรุงและแก้ไข Web 2.0 ให้ดีขึ้น เนื่องจากในยุค Web 2.0 นั้นผู้ใช้มีการสร้างเนื้อหาได้อย่างสะดวกและง่ายดายทำให้ มีจำนวนเนื้อหาจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น บล็อค, รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อมาก็คือ ปัญหาในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวคิดหรือวิธีการในการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและเข้าถึง โดยแนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการพัฒนาไปสู่ยุค Web 3.0 นั่นเองตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 3.0 เช่น Search Engine Google ที่เมื่อเราทำการสะกดคำที่ต้องการค้นหาผิด Google สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการหาเป็นอะไร และทำการแสดงผลของคำที่เราน่าจะต้องการมาให้
เครือข่ายดิจิตอล 4 ชนิด
1. ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
- งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
- การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
- ระบบเครือข่าย LAN
- การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
3. HDSL ( High bit arte Digital Subscriber Line) เป็นประเภท DSL ล่าสุที่มีการใช้กว้างขวางซึ่งสามารถใช้สำหรับส่งแบบ wideband digital ภายในบริษัทและระหว่างศูนย์บริการกับผู้ใช้ คุณสมบัติหลักของ HDSL คือ มีความสามารถ ซึ่งหมายถึง bandwidth ที่ใช้ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้อัตราข้อมูลส่ง จึงตำกว่า ADSL และ HDSL สามารถใช้โทรศัพท์ Twisted-pae เท่ากับสาย T 1 ในเอเมริกาเหนือและ E1 ในยุโรป(2 ,320 Kbsp )
4. VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรืออาจจะเรียกว่า Very High Bit Rate Digital Subscriber Line แต่ความหมายเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะแปรผันลดลงตามระยะทางดังกล่าว
ข้อดีและข้อเสียของสายนำสัญญาณ 3 ชนิด
1. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
2. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
3. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
1.2สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบาข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
2. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
3. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
1.2สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบาข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ความหมายและหน้าที่ของ Modems
โมเด็ม (Modems)
ความหมาย
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
หน้าที่ของโมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย
นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย
ความหมายของ ISP
ความหมายของ ISP
ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า “ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย
การประยุกต์ใข้เทคโนโลยีการสื่อสาร
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
1. อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
2. อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
- ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
- อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
3. อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
2. โทรสาร (Fax)
ข้อมูลที่สื่อสารผ่านเทคโนลยีแฟ็กซ์ (FAX) นี้อาจเป็นข้อความที่พิมพ์ขึ้นหรือเขียนขึ้นด้วยมือ และอาจจะมีรูปภาพด้วยก็ได้การรับและส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งแฟ็กซ์/โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารก็ได้แต่การใช้คอมพิวเตอร์นั้นจะช่วยประหยัดค่าจ่ายและมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา กล่าวคือ ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้สามารถดูข้อความหรือรูปภาพผ่านทางหน้าจอได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร ซึ่งก็เท่ากับเป็นการประหยัดเวลาและกระดาษนั้นเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์นี้จะทำให้ผู้ใช้ควบคุมและจัดการไฟล์ได้ง่ายกว่าการเก็บเป็นเอกสารและด้วยคุณประโยชน์เช่นนี้จึงทำให้บริษัทใหญ่ ๆ เช่น บริษัทประกันภัยที่ต้องการรับส่งข้อความต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในแต่ละวันหันมาใช้การรับส่งแฟ็กซ์ด้วยโมเด็มแทนการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา
3. วอยซ์เมล (Voice Mail)
Voice Mail เป็นเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ซึ่งจะบันทึกเสียงของผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาไว้ในเครื่องบันทึกเทป แต่ Voice Mail มีลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ แทนที่จะบันทึกเสียงของผู้พูดไว้ด้วยสัญญาณอนาล็อกแบบเครื่องบันทึกเทปทั่วไป แต่ Voice Mail กลับบันทึกเก็บไว้ใน Voice Mailbox ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสัญญาณดิจิตอล โดยปกติแล้ว ระบบ Voice Mail จะมี Voice Mailbox ใช้เป็นกล่องเก็บบันทึกข้อความเสียงเพียงกล่องเดียวต่อ 1 ระบบ เท่านั้นไม่ว่าจะมีผู้ใช้กี่คนก็ตาม เช่น การนำ Voice Mail มาใช้ในบริษัทหรือในมหาวิทยาลัย ซึ่งพนักงานต่าง ๆ ในบริษัทหรือนักศึกษาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยต่างก็ใช้ Voice Mailbox ตัวเดียวกันนี้เก็บบันทึกเสียงไว้ เป็นต้นส่วนภายใน Voice Mailbox นี้สามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้ทำให้สามารถเรียกข้อความขึ้นมาฟังตอบกลับหรือส่งต่อข้อความไปถึงผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้และหากต้องการส่งข้อความไปถึงผู้รับพร้อมกันหลายคนก็สามารถทำได้
4. การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
5. การรุบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม GPS (Global Positioning System)
ระบบ GPS ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของ GPS Receiver (อุปกรณ์รับสัญญาณ) ผ่านทางดาวเทียม ซึ่งมีลักษณะการทำงานโดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. ดาวเทียมแต่ละดวงที่โคจรอยู่รอบโลกจะส่งสัญญาณมาที่ GPS Receiver ทุก ๆ 1,000 วินาที ซึ่งสัญญาณที่ส่งมานี้เป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่า GPS Receiver กำลังอยู่ที่พิกัดใดในโลก
2. เมื่อ GPS Receiver ได้รับสัญญาณแล้วจะทำการวิเคราะห์สัญญาณที่ได้จากดาวเทียมแล้วแสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้ทราบ ซึ่งรูปแบบการแสดงผลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ
Ä แสดงผลที่ GPS Receiver ซึ่งจะมีจอภาพแสดงให้เห็นว่ากำลังอยู่ ณ ตำแหน่งใดในแผนที่โลก
Ä รับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วส่งสัญญาณไปวิเคราะห์และแสดงผลต่อยังสถานี
ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นำระบบ GPS ไปประยุกต์ใช้มากมาย ตัวอย่างเช่น การป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน การนำร่องเรือเดินสมุทร การควบคุมการบินอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปใช้ในโครงการวิจัยสัตว์ป่า โดยฝัง GPS Receiver ไว้ที่ในตัวสัตว์ (GPS Receiver จะถูกออกแบบและสร้างมาให้เล็กเป็นพิเศษ) เพื่อเฝ้าสะกดรอยตาม หรือหากนำไปฝังไว้ในตัวนักโทษก็จะทำให้การติดตามจับกุมนักโทษแหกคุกทำได้ง่ายขึ้น เหล่านี้คือตัวอย่างเพียงบางส่วนของประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ GPS
6. กรุ๊ปแวร์ (Group Ware)
Group War e คือ โปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมโครงการเดียวกันให้มีการแบ่งปันสารสนเทศผ่านทางเครือข่าย (LAN และ WAN) โดย GroupWare เป็นองค์ประกอบของแนวความคิดอิสระที่เรียกว่า “Workgroup Computing” ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของเครือข่ายซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถสื่อสารถึงกัน และร่วมกันจัดการโครงการต่าง ๆ ร่วมประชุมตามหมายกำหนดการตลอดจนร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้
7. การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfers)
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic funds transfers) หมายถึง การโอนเงินจากบัญชีเงินฝากหนึ่งเข้าบัญชีเงินฝากอื่น โดยอาจเป็นบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารก็ได้ และคำสั่งเพื่อการโอนเงินดังกล่าวต้องสามารถสื่อสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้โอน (Transferor)
- ผู้รับโอน (Transferee)
- ธนาคารของผู้โอน (Transferor bank)
- ธนาคารของผู้รับโอน (Transferee bank)
- บางกรณีอาจมีธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินและธนาคารของผู้รับโอนเงินซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งธนาคารในกรณีที่ทั้งสองธนาคารดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากระหว่างกัน (Intermediary Bank(s))
- คำสั่งโอนเงิน (Payment Order)
- ระบบการโอนเงิน (Funds-transfer System) ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบรับส่งข้อมูลคำสั่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินกับธนาคารของผู้รับโอนเงิน ตัวอย่างเช่น ในระดับระหว่างประเทศ เช่น Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications (S.W.I.F.T.) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Automated Clearing House, Fed wire, Clearing House Interbank Payment System และสำหรับในประเทศไทย ได้แก่ Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network (BAHTNET)
ประเภทของการโอนเงิน
การโอนเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) กับ การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ก. การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่ผู้จ่ายเงินส่งคำสั่งโอนเงินให้ธนาคารหักบัญชีของตนเพื่อโอนเงินไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่ธนาคารของผู้รับเงิน
ข. การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่กระทำโดยผู้รับเงินส่งคำสั่งโอนเงินโดยตนเองหรือธนาคารของตน ให้ธนาคารของผู้จ่ายเงินหักบัญชีของผู้จ่ายเงินเพื่อโอนเข้าบัญชีของผู้รับเงิน
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic funds transfers) หมายถึง การโอนเงินจากบัญชีเงินฝากหนึ่งเข้าบัญชีเงินฝากอื่น โดยอาจเป็นบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารก็ได้ และคำสั่งเพื่อการโอนเงินดังกล่าวต้องสามารถสื่อสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้โอน (Transferor)
- ผู้รับโอน (Transferee)
- ธนาคารของผู้โอน (Transferor bank)
- ธนาคารของผู้รับโอน (Transferee bank)
- บางกรณีอาจมีธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินและธนาคารของผู้รับโอนเงินซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งธนาคารในกรณีที่ทั้งสองธนาคารดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากระหว่างกัน (Intermediary Bank(s))
- คำสั่งโอนเงิน (Payment Order)
- ระบบการโอนเงิน (Funds-transfer System) ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบรับส่งข้อมูลคำสั่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินกับธนาคารของผู้รับโอนเงิน ตัวอย่างเช่น ในระดับระหว่างประเทศ เช่น Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications (S.W.I.F.T.) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Automated Clearing House, Fed wire, Clearing House Interbank Payment System และสำหรับในประเทศไทย ได้แก่ Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network (BAHTNET)
ประเภทของการโอนเงิน
การโอนเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) กับ การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ก. การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่ผู้จ่ายเงินส่งคำสั่งโอนเงินให้ธนาคารหักบัญชีของตนเพื่อโอนเงินไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่ธนาคารของผู้รับเงิน
ข. การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่กระทำโดยผู้รับเงินส่งคำสั่งโอนเงินโดยตนเองหรือธนาคารของตน ให้ธนาคารของผู้จ่ายเงินหักบัญชีของผู้จ่ายเงินเพื่อโอนเข้าบัญชีของผู้รับเงิน
8. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยส่งผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์อย่างมากในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และช่วยลดงานด้านเอกสาร
9. การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้โทคโนโลยีการสื่อสาร
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices), หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์
1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก
1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ
1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับสแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกันมากขึ้น
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์
1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก
1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ
1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับสแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกันมากขึ้น
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management Programs) ได้แก่ Microsoft Office
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง (Special-Purpose Application Software) งานด้านระบบบัญชีธุรกิจทั่วไป (General Accounting Software) ด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ (Analysis and Decision Marking) เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการด้านฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกในการใฃ้งานของผู้ใช้งาน มี 3 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกับระบบ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
สำหรับการพิมพ์งานต่าง ๆ
ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
ชุดโปรแกรมในการจัดการแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลรายการ งานทางด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวางแผนและการจัดการตารางงาน
ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการผลิตรายงาน สร้างรายงานประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการตรวจคำผิดของตัวอักษร ตัวตรวจสอบ แสดงข้อความ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการ การนำเสนองานในรูปต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลถึงกัน หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการสอนและฝึกอบรม ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ระบบปฏิบัติการ (The Operating System) คือ โปรแกรมหลักที่ใช้ในการจัดการคำสั่งทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักดังนี้
จัดการเกี่ยวกับไฟล์
จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์
จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
จัดการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
จัดการเกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงานของผู้ใช้
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอุปกรณืต่างๆต่อเชื่อกันเรียกว่า "ฮาร์ดแวร์" จำทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "ซอฟแวร์"
1.1 ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล(Input) เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกนเนอร์ จอภาพสัมผัส เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก
2.อุปกรณแสดงผล(Output) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวล
4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์แสดงผล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานในอนาคต
5.ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
5.1ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณืต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ(DOS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัตการ Windows XP
2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Winzip ใช้บีบอัดไฟล์ AntiVirus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส
3.โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลจากที่ไกลๆเป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้หลายอื่นๆเป็นไปยังสะดวกรวดเร็ว
1.1 ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล(Input) เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกนเนอร์ จอภาพสัมผัส เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก
2.อุปกรณแสดงผล(Output) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวล
4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์แสดงผล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานในอนาคต
5.ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
5.1ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณืต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ(DOS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัตการ Windows XP
2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Winzip ใช้บีบอัดไฟล์ AntiVirus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส
3.โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลจากที่ไกลๆเป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้หลายอื่นๆเป็นไปยังสะดวกรวดเร็ว
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาสัยเครื่องทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบนวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)