วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใข้เทคโนโลยีการสื่อสาร


1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
 1. อีเมล์สำนักงานเป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
       2. อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
  • ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
  • อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
      3. อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

2. โทรสาร (Fax)
 ข้อมูลที่สื่อสารผ่านเทคโนลยีแฟ็กซ์ (FAX) นี้อาจเป็นข้อความที่พิมพ์ขึ้นหรือเขียนขึ้นด้วยมือ และอาจจะมีรูปภาพด้วยก็ได้การรับและส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งแฟ็กซ์/โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารก็ได้แต่การใช้คอมพิวเตอร์นั้นจะช่วยประหยัดค่าจ่ายและมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา กล่าวคือ ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้สามารถดูข้อความหรือรูปภาพผ่านทางหน้าจอได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร ซึ่งก็เท่ากับเป็นการประหยัดเวลาและกระดาษนั้นเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์นี้จะทำให้ผู้ใช้ควบคุมและจัดการไฟล์ได้ง่ายกว่าการเก็บเป็นเอกสารและด้วยคุณประโยชน์เช่นนี้จึงทำให้บริษัทใหญ่ ๆ เช่น บริษัทประกันภัยที่ต้องการรับส่งข้อความต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในแต่ละวันหันมาใช้การรับส่งแฟ็กซ์ด้วยโมเด็มแทนการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา

3. วอยซ์เมล (Voice Mail)
Voice Mail เป็นเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ซึ่งจะบันทึกเสียงของผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาไว้ในเครื่องบันทึกเทป แต่ Voice Mail มีลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ แทนที่จะบันทึกเสียงของผู้พูดไว้ด้วยสัญญาณอนาล็อกแบบเครื่องบันทึกเทปทั่วไป แต่ Voice Mail กลับบันทึกเก็บไว้ใน Voice Mailbox ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสัญญาณดิจิตอล   โดยปกติแล้ว ระบบ Voice Mail จะมี Voice Mailbox ใช้เป็นกล่องเก็บบันทึกข้อความเสียงเพียงกล่องเดียวต่อ 1 ระบบ เท่านั้นไม่ว่าจะมีผู้ใช้กี่คนก็ตาม เช่น การนำ Voice Mail มาใช้ในบริษัทหรือในมหาวิทยาลัย ซึ่งพนักงานต่าง ๆ ในบริษัทหรือนักศึกษาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยต่างก็ใช้ Voice Mailbox ตัวเดียวกันนี้เก็บบันทึกเสียงไว้ เป็นต้นส่วนภายใน Voice Mailbox นี้สามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้ทำให้สามารถเรียกข้อความขึ้นมาฟังตอบกลับหรือส่งต่อข้อความไปถึงผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้และหากต้องการส่งข้อความไปถึงผู้รับพร้อมกันหลายคนก็สามารถทำได้

4. การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
                เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

5. การรุบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม GPS (Global Positioning System)
 ระบบ GPS ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของ GPS Receiver (อุปกรณ์รับสัญญาณ) ผ่านทางดาวเทียม ซึ่งมีลักษณะการทำงานโดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
                1. ดาวเทียมแต่ละดวงที่โคจรอยู่รอบโลกจะส่งสัญญาณมาที่ GPS Receiver ทุก ๆ 1,000 วินาที ซึ่งสัญญาณที่ส่งมานี้เป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่า GPS Receiver กำลังอยู่ที่พิกัดใดในโลก
                2. เมื่อ GPS Receiver ได้รับสัญญาณแล้วจะทำการวิเคราะห์สัญญาณที่ได้จากดาวเทียมแล้วแสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้ทราบ ซึ่งรูปแบบการแสดงผลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ
            Ä แสดงผลที่ GPS Receiver ซึ่งจะมีจอภาพแสดงให้เห็นว่ากำลังอยู่ ณ ตำแหน่งใดในแผนที่โลก
            Ä รับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วส่งสัญญาณไปวิเคราะห์และแสดงผลต่อยังสถานี
 ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นำระบบ GPS ไปประยุกต์ใช้มากมาย ตัวอย่างเช่น การป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน การนำร่องเรือเดินสมุทร การควบคุมการบินอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปใช้ในโครงการวิจัยสัตว์ป่า โดยฝัง GPS Receiver ไว้ที่ในตัวสัตว์ (GPS Receiver จะถูกออกแบบและสร้างมาให้เล็กเป็นพิเศษ) เพื่อเฝ้าสะกดรอยตาม หรือหากนำไปฝังไว้ในตัวนักโทษก็จะทำให้การติดตามจับกุมนักโทษแหกคุกทำได้ง่ายขึ้น เหล่านี้คือตัวอย่างเพียงบางส่วนของประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ GPS

 6. กรุ๊ปแวร์ (Group Ware)
                Group War e คือ โปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมโครงการเดียวกันให้มีการแบ่งปันสารสนเทศผ่านทางเครือข่าย (LAN และ WAN) โดย GroupWare เป็นองค์ประกอบของแนวความคิดอิสระที่เรียกว่า “Workgroup Computing” ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของเครือข่ายซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถสื่อสารถึงกัน และร่วมกันจัดการโครงการต่าง ๆ ร่วมประชุมตามหมายกำหนดการตลอดจนร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้

7. การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfers)
                การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic funds transfers) หมายถึง การโอนเงินจากบัญชีเงินฝากหนึ่งเข้าบัญชีเงินฝากอื่น โดยอาจเป็นบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารก็ได้ และคำสั่งเพื่อการโอนเงินดังกล่าวต้องสามารถสื่อสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้โอน (Transferor)
- ผู้รับโอน (Transferee)
- ธนาคารของผู้โอน (Transferor bank)
- ธนาคารของผู้รับโอน (Transferee bank)
- บางกรณีอาจมีธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินและธนาคารของผู้รับโอนเงินซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งธนาคารในกรณีที่ทั้งสองธนาคารดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากระหว่างกัน (Intermediary Bank(s))
- คำสั่งโอนเงิน (Payment Order)
- ระบบการโอนเงิน (Funds-transfer System) ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบรับส่งข้อมูลคำสั่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินกับธนาคารของผู้รับโอนเงิน ตัวอย่างเช่น ในระดับระหว่างประเทศ เช่น Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications (S.W.I.F.T.) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Automated Clearing House, Fed wire, Clearing House Interbank Payment System และสำหรับในประเทศไทย ได้แก่ Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network (BAHTNET)
                                                   ประเภทของการโอนเงิน
                การโอนเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) กับ การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                ก. การโอนเงินเข้าบัญชี (Credit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่ผู้จ่ายเงินส่งคำสั่งโอนเงินให้ธนาคารหักบัญชีของตนเพื่อโอนเงินไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่ธนาคารของผู้รับเงิน
                ข. การโอนเงินหักบัญชี (Debit Transfer) หมายถึงการโอนเงินที่กระทำโดยผู้รับเงินส่งคำสั่งโอนเงินโดยตนเองหรือธนาคารของตน ให้ธนาคารของผู้จ่ายเงินหักบัญชีของผู้จ่ายเงินเพื่อโอนเข้าบัญชีของผู้รับเงิน

8. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI) 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยส่งผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์อย่างมากในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และช่วยลดงานด้านเอกสาร   

9. การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


การประยุกต์ใช้โทคโนโลยีการสื่อสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น