วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) คืออะไร

      เอ็กทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อมักจะปิดกั้นเฉพาะภายใน แต่อาจมีการเปิดให้ผู้ใช้งานภายนอกเข้ามาใช้งานหรือแบ่งระดับการเข้าใช้ข้อมูลได้เช่นกัน
      ตัวอย่างของเอ็กซ์ทราเน็ต Countrywide Home Loans ได้สร้างเอ็กซ์ทราเน็ต ที่เรียกว่า Platinum Lender Access สำหรับหุ้นส่วนกู้ยืม นายหน้า และธนาคารประมาณ 500 แห่ง ให้สามารถเข้าถึงอินทราเน็ตและฐานข้อมูลการเงิน เข้าถึงบัญชีและสารสนเทศรายการเปลี่ยนแปลง สถานะเงินกู้ และประกาศของบริษัท ผู้ให้กู้และนายหน้าแต่ละรายถูกระบุตัวอัตโนมัติโดยเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมสารสนเทศในเรื่องของอัตราเบี้ยประกัน ส่วนลด และข้อตกลงพิเศษอื่นๆ Marshall Industries ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อให้ลูกค้าและผู้ขายสามารถเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตของ Marshall ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Partner Net เช่น ผู้ขายสามารถใช้ระบบจุดขาย (Point–of-sale) เพื่อรายงานสถานะของสินค้าคงคลังได้ทุกเวลา ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ต้องการ เช่นเดียวกับสถานะคำสั่งซื้อที่ได้สั่งซื้อไว้ก่อนหน้า ซึ่งเอ็กซ์ทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มยอดขายและกำไร ขณะที่ตัดพนักงานขายและค่าใช้จ่ายลง

อินทราเน็ต (Intranet) คืออะไร

       อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
   อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต


ธุรกิจกับรัฐบาล B2G

       B2G ก็คือการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกให้ รัฐบาลสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับภาคประชาชน หรือ G2C ได้อย่างคล่องตัว .....เช่นรัฐบาลคิดโปรเจคทำการตลาดด้วยการสร้างกระแสฮือฮาบ่มเพาะดีมานด์จนพุ่งกระฉูด จากนั้นก็ดึงธุรกิจเอกชนเข้ามารับงานจากรัฐบาล
แม้ว่า G2C จะเกิดขึ้นอย่างคึกคัก มีการประมูลหรือให้งานภาคเอกชนครึกครื้น แต่โดยภาพใหญ่ที่ออกมากลับผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับนโยบาย "ป็อปปูลิสต์" เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกส่งต่อถึงมือประชาชนโดยรัฐทั้งสิ้น
       แต่กระบวนการ B2G ที่อยู่เบื้องหลัง ป็อปปูลิสต์ เหล่านี้ แทบไม่เคยถูกตั้งข้อสงสัยเลยว่าแต่ละ "ดีล" เจรจาอย่างไร และเหตุใดจึงจบลงที่ตัวเลขดังกล่าว
ระหว่าง G รัฐบาล และ B-Business รู้กันแค่ 2 คน
ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีประกาศที่เป็น TOR ชัดเจน ไม่มีระบบตรวจสอบ ...เพราะทุกฝ่ายต่างยอมรับว่า การเล่นบทนักธุรกิจของรัฐบาลซีอีโอได้ผล และสมประโยชน์ถ้วนหน้า
และแม้ว่าโครงการเอื้ออาทรจะห่างสายตาไปบ้าง อาจด้วยหมดมุข คิดไม่ออก แต่ B2G ที่ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนต้องสยบแทบเท้ารัฐบาลไม่ได้จบลงที่เท่านั้น

ลูกค้ากับลูกค้า C2C

      
        C2C นั้นก็จะหมายถึง การทำธุรกิจที่ติดต่อกับโดยตรงระหว่างลูกค้ารายย่อยที่ซื้อข่ายกันเอง จุดเด่นของธุรกิจในลักษณะนี้ก็คือ แต่ละคนจะเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตนเอง แต่ปริมาณสินค้าของตนยังน้อยอยู่ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำ E-business จึงมักจะมีตัวกันเป็นกลุ่ม หรือมีตัวแทนรวบรวมเจ้าของเจ้าของสินค้ารายย่อยเหล่านี้ไว้ด้วยกัน แล้วจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เช่น สร้างโฮมเพจให้ จัดการระบบเก็บเงิน และ ระบบส่งของให้ คล้ายๆ กับกิจกรรม เปิดท้ายขายของ ตามที่ต่างๆ นั่นเอง สำหรับตัวอย่างของระบบ C2C นี้ได้แก่ โฮมเพจของ Thai.com ที่อนุญาตให้เราเข้าไปเปิดร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ตได้ รูปแบบ E-business ที่ผ่านได้เล่าให้ฟังนั้นระบบ B2B และ B2C ดูเหมือนว่าจะเห็นผลมากกว่าระบบ C2C เนื่องจากระบบปริมาณสินค้ามาก จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำในขณะที่ได้รับผลประโยชน์สูง

ธุรกิจกับลูกค้า B2C

ธุรกิจและลูกค้า
       Business to Customer ( B2C) หรือ การดำเนินธุรกิจระหว่าง ธุรกิจกับลูกค้า หรือร้านค้าต่อลูกค้า ขั้นก็ตอนจะ คล้ายกับ B2B แต่จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายรายย่อยๆ ระหว่างลูกค้ากับร้านค้า เช่น การเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ลูกค้าจะเปิดโฮมเพจเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและจ่ายเงินออนไลน์เอง ปริมาณการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะมีจำนวนน้อยกว่า B2B แต่ จำนวนลูกค้าจะมีมากกว่าและการสั่งซื้อที่บ่อยกว่าทำให้ได้ระบบ B2C รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นโฮมเพจของ ebay.com, dell.com เป็นต้น

ธุรกิจกัธุรกิจ B2B

การค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ คืออะไร?
การค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) ได้แก่ การทำ ธุรกรรมหรือพาณิชยกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะทำให้ทราบข้อมูลของธุรกิจประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสามารถซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุน และการขยายตลาดการค้าให้มีวงกว้างไปในระดับโลกมากขึ้น

ตัวอย่างการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทย ได้เริ่มนำการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจมาใช้ในการประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก
ห้างสรรพสินค้าแม็คโครถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการพัฒนาการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจเป็นกลุ่มต้นๆ ในประเทศไทย ในการพัฒนาระบบการค้าขายทางอิเล็คทรอนิกส์ของแม็คโครภายใต้ชื่อ www.makro.co.th นั้น ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2543 เพื่อรองรับกับผู้ประกอบการ 1,040 รายที่ขายสินค้าให้กับแม็คโคร โดยมีการลงทุนพัฒนาระบบขั้นต้นไป 10 ล้านบาท ในส่วนของบริษัทในเครืออย่างแม็คโครออฟฟิศ เซ็นเตอร์ ที่เริ่มพัฒนาระบบการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2542 นั้น ได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะการซื้อขายแบบ B2B เช่นกันภายใต้ชื่อ www.officecenter.co.th เนื่องจากคาดว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาล

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์อินเตอร์เน็ต

       1. HTML(Hypertext Markup Language) เป็นเครื่องมือในการสร้าไฟล์เท็ก(ข้อความ)ที่มีการเชื่อมต่อกันสำหรับใช้กับบราวเซอร์บนwww โดยมีลักษณะเป็นช้อความธรรมดาที่ล้อมค้วยวงเล็บ< >เช่น <b>tunjai</b> เป็นคำสั่งที่บอกให้บราวเซอร์แสดงผลตัว tunjai ตัวเข้มหรือตัวหนา
       2. (Web Page) เว็บเพจ
คือ เอกสารแต่ละหน้าที่เราเปิดดูใน Web Page ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่กำหนดรูปแบบและหน้าตาของเว็บเพจ โดยเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นได้ ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลไปทั้วโลกได้ทันทีในราคาถูกและรวดเร็ว

       3. Home Page โฮมเพจหมายถึง เอกสารในwwwหน้าแรกของไซด์ที่คุณเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีชื่อว่า index.html หรือ default.asp
       4. World Wide Web (WWW) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Web เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตให้บริการข้อมูล ที่ประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร และเสียง ถือได้ว่า World Wide Web เป็นแหล่งบริการข้อมูลขนาดใหญ่ เหมือนเครือข่ายใยแมงมุม
       5. (Web Browser) เว็บเบราเซอร์   เป็นโปรแกรมทีใช้ในการท่องโลก World Wide Web เพื่อดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต หรือกล่าวได้ว่าเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมใช้เปิดดูเว็บเพจนั่นเอง มีหลายโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ Microsoft Internet Explorer,Netscape Navigator
       6. URLU nique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน    เวิลด์ ไวด์ เว็บ       7. PROTOCOL มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
       8. Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

       9. IP Address คือชุดตัวลขที่อ้างถึงโฮสต์ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ประกอบด้วยชุดอักษร 4 ชุด ที่ขั้นด้วย จุด ดังนั้นบางเครื่องอาจเรียกเป็น dot addressing โดยจะมีไบนารี 32 บิต(4octet)เช่น   202.214.115.12 ถ้าคุณใช้อินเตอร์เน็ตแบบ PPP คุณจะพบว่าโฮสต์ ของคุณนั้นจะกำหนด ไอพีแอดเดรส ให้คุณอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใช้ระบบ แลน ไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกกำหนดตายตัว
     10. Domain Name โดเมนเนมแสดงถึงการเป็นเจ้าของหรือการจัดระบบเน็ตเวิร์คในอินเตอร์เน็ต มักจะมีรูปแบบเป็น ชื่อโดเมน.ชนิดของโดเมน เช่น microsoft.com (.com-องค์กรการค้า,.edu-องค์กรการศึกษาฯลฯ)ซึ่งลักษณะนี้เป็นการกำหนดโดเมนเนมในอเมริกา หากเป็นประเทศอื่นๆ จะมีตัวอักษรสองตัวแทนชื่อประเทศต่อท้ายเช่นksc.net.th(net-ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์ค,.th-รหัสประเทศไทย)
     11. Bandwidth แบนด์วิธจะเป็นการแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีการขนย้านข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด มักจะมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาทั(bps) หรือ กิโลบิตต่อวินาที(kbps)