วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์

       ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices), หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
      1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์
      1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก
      1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ
      1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับสแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
      1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกันมากขึ้น

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์

ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
     ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management Programs) ได้แก่ Microsoft Office
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง (Special-Purpose Application Software) งานด้านระบบบัญชีธุรกิจทั่วไป (General Accounting Software) ด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ (Analysis and Decision Marking) เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการด้านฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกในการใฃ้งานของผู้ใช้งาน มี 3 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกับระบบ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
สำหรับการพิมพ์งานต่าง ๆ
ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
ชุดโปรแกรมในการจัดการแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลรายการ งานทางด้านธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวางแผนและการจัดการตารางงาน
ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการผลิตรายงาน  สร้างรายงานประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการตรวจคำผิดของตัวอักษร ตัวตรวจสอบ แสดงข้อความ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการ การนำเสนองานในรูปต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลถึงกัน หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการสอนและฝึกอบรม ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ระบบปฏิบัติการ (The Operating System) คือ โปรแกรมหลักที่ใช้ในการจัดการคำสั่งทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักดังนี้
จัดการเกี่ยวกับไฟล์
จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์
จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
จัดการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
จัดการเกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงานของผู้ใช้

องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอุปกรณืต่างๆต่อเชื่อกันเรียกว่า "ฮาร์ดแวร์" จำทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "ซอฟแวร์"
    1.1 ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
       1.อุปกรณ์รับข้อมูล(Input) เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกนเนอร์ จอภาพสัมผัส เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก
       2.อุปกรณแสดงผล(Output) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
       3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวล
       4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์แสดงผล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานในอนาคต
       5.ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          5.1ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณืต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ(DOS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัตการ Windows XP
2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Winzip ใช้บีบอัดไฟล์ AntiVirus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส
3.โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

2.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลจากที่ไกลๆเป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้หลายอื่นๆเป็นไปยังสะดวกรวดเร็ว

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาสัยเครื่องทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบนวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้